แบ่งปัน

ผ้ามัดย้อม เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงออกได้ถึงความภูมิใจของคนทำและผู้สวมใส่ และยังเป็นการแสดงถึงความรู้ ภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น สะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน ในเรื่องของการใช้วัสดุที่ได้จากธรรมชาติมาทำการย้อมสืผ้า ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงแค่การใช้ประโยชน์จากธรรมชาติเท่านั้นมันยังสะท้อนให้เห็นถึงการเห็นคุณค่า ความผูกพัน การหวงแหนธรรมชาติอีกด้วย

การทำผ้ามัดย้อม เป็นวิธีการกันสี ส่วนที่ถูกมัดจะจะไม่มีสีติด ชาวบ้านภาคใต้จะเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หลากหลายอย่างในการให้สีที่ต้องการ วัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำสีย้อมผ้าธรรมชาติ จะได้จากส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้ เช่น เปลือก ใบ ดอก และผล ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องถิ่น

หูกวาง     ให้สีเหลืองอมเขียว
มังคุด     ให้สีส้ม กับ สีชมพู
เพกา     ให้สีเขียวเข้ม
ลูกเนียง     ให้สีน้ำตาลเข้ม
สะตอ     ให้สีเทา
แกนขนุน     ให้สีเหลืองสด
แกนหลุมพอ     ให้สีน้ำตาลอ่อน
ลูกมะเกลือ     ให้สีดำ
ลูกหว้า     ให้สีม่วงอ่อน
เปลือกไม้โกงกาง เปลือกเงาะ     ให้สีน้ำตาล

ขั้นตอนการผลิต

1. นำวัสดุ (เปลือกไม้ ใบ ผล) ที่จะนำมาสกัดน้ำสี บด สับให้ละเอียด และนำไปต้มจนเดือด

2. ซักผ้าที่จะนำมามัดย้อมให้สะอาด ขจัดไขมันให้หมด ด้วยการต้มกับผงซักฟอกหรือแช่น้ำไว้ประมาณ 1 คืน และนำมามัดลายตามความต้องการ

3. นำผ้าที่มัดลายเรียบร้อยแล้ว ไปต้มในน้ำสีประมาณ 30 – 60 นาที แล้วนำไปซัก และตากในที่ร่ม